นักโปรเเกรมเมอร์

นักโปรเเกรมเมอร์

     นักเขียนโปรแกรม หรือ โปรแกรมเมอร์ (อังกฤษ: programmer)มีหน้าที่หลักคือการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งนักเขียนโปรแกรมสามารถหมายถึงผู้ที่เชี่ยวชาญในการโปรแกรมเฉพาะด้านหรือผู้ที่สามารถเขียนรหัสซอฟต์แวร์ได้หลากหลาย



หมายถึง คนที่เขียนโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ และควรจะมีความชำนาญด้วย ( สำหรับคนที่หัดเขียนใหม่ ๆ ไม่ควรจะใช้คำ ๆ นี้) นักเขียนโปรแกรมที่ดีนั้น จะต้องรู้วิธีแก้ปัญหา และรู้ด้วยว่า จะแก้อย่างไร รวมทั้งต้องเข้าใจหลักและกฎเกณฑ์ของภาษาต่าง ๆ ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจด้วย เพื่อจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งได้


เอดา ไบรอนได้ชื่อว่าเป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลก เพราะเป็นคนแรกที่สามารถนำขั้นตอนวิธี มาเรียบเรียงเป็นชุดคำสั่ง ให้แก่เครื่องคำนวณได้ในปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) ในยุคที่ยังไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์

ประวัตินักเขียนโปรแกรมเมอร์

คนที่คิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่เราเรียกกันว่าโปรแกรมเมอร์นั้น เป็นบุคคลสำคัญที่จะทำให้เราใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างเกิดประโยชน์ ที่สุด คอยคิดค้นและพัฒนาโปรแกรมให้สามารถทำนั่นนี่โน้นได้ เรียกว่าเก่งมากๆ ทำให้อดนึกไม่ได้ว่า ใครหนอที่เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลกกัน??


โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก ปรากฏว่าเป็นผู้หญิงค่ะ นั่นก็คือ เอดา ไบรอน(Lady Augusta Ada Byron, Coutress of Lovelace ) เกิดเมื่อปี ค.ศ.1816 ต่อมาพ่อแม่ของเธอก็แยกทางกัน ทางคุณแม่ของเอดาคิดว่า การศึกษาจะทำให้ลูกสาวได้ประโยชน์มากในอนาคต ตอนนั้นเอดาก็เลยถูกเลี้ยงมาให้เป็นผู้หญิงสมัยใหม่ ที่เรียนรู้ทั้งเรื่องวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ต่างจากผู้หญิงสมัยก่อนๆ คือสังคมชั้นสูง แต่งสวยไปวันๆ (เจ๋งมาก)

พออายุ 18 ปี เอดาได้ไปงานเลี้ยงอาหารค่ำที่บ้านของ Mrs. Somerville จนได้พบกับ Charles Babbage ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคณิตศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับอย่างสูง เอดาได้สนใจในแนวคิดของ Babbage มากๆ จนอาสาจะช่วยงาน และพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือการคิดสร้างภาษาช่วยเครื่อง Analytical Engine จากนั้นก็พัฒนาและคิดค้นแนวคิดต่างๆมาเรื่อยๆ

ในยุคนั้น ผู้หญิงอย่างเอดาก็ไม่ได้รับการยกย่องในงานทางวิทยาศาสตร์มากนัก แต่เธอก็ได้กำลังจากสามี ที่คอยให้ความเห็นอกเห็นใจ เอาใจช่วยในการฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรคต่างๆ จนเธอได้การยอมรับในภายหลัง

เอดาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่อปี ค.ศ.1852 ต่อมาปี ค.ศ.1979 ได้มีการตั้งชื่อคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบไร้คนควบคุมเครื่องหนึ่งซึ่งพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกาว่า "เอดา" เพื่อเป็นเกียรติให้กับเธอด้วย

เอดาจึงเป็นคนแรกที่มีแนวคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการคำนวณ และไม่เพียงแต่คำนวณได้เท่านั้น เอดายังสามารถคาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้าได้อีกว่า ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะสามารถนำมาใช้สร้างเสียงดนตรีและช่วยกระบวนการ อุตสาหกรรมได้

ประเภทของโปรแกรมเมอร์


คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เขียนชุดคำสั่งหรือโปรแกรมเพื่อสั่งงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนโปรแกรมภายใต้ข้อกำหนดและลักษณะของโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ โดยนักวิเคราะห์ระบบ โดยเราสามารถแบ่งประเภทของโปรแกรมเมอร์ ออกได้เป็น 2 ประเภทได้แก่


1.นักพัฒนาโปรแกรมระบบ (System programmer)เป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์และใช้งานโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) เป็นอย่างดี ให้คำปรึกษาและแก้ไขระบบเมื่อเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ควรมีความรู้ในการใช้ภาษา C, C++ หรือ Assembly เพื่อใช้ควบคุมและจัดการกับโปรแกรมระบบคอมพิวเตอร์

2.นักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application programmer)เป็นผู้เขียนและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ เช่นโปรแกรมด้านการเงิน-บัญชี , โปรแกรมทะเบียนวัดผล , โปรแกรมระบบบุคลากร โดยนำผลที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบเขียนโปรแกรมประยุกต์ หลังจากนั้นต้องทำการทดสอบ แก้ไขโปรแกรม ติดตั้งและบำรุงรักษาโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ประเมินผลและจัดทำรายงานผลการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ให้ผู้บริหารทราบ

8 ระดับของโปรแกรมเมอร์?

1.โปรแกรมเมอร์ระดับตำนาน (Dead Programmer) นี่เป็นระดับที่สูงสุด โค้ดของคุณยังคงอยู่ข้ามผ่านความตายของคุณ คุณเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ได้รับการบันทึกของวงการคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์คนอื่นๆ ศึกษางานและงานเขียนของคุณ คุณอาจชนะรางวัล Turing, หรือได้เขียนงานที่มีอิทธิพล หรือสร้างหนึ่งหรือสองสิ่งที่เป็นรากฐานของเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการเขียนโปรแกรมที่เรารู้จักกัน คุณไม่ได้มีแค่บทความ wikipedia ของตัวคุณเองเท่านั้น – มันมีเว็บไซต์ที่อุทิศแก่การศึกษาชีวิตและงานของคุณด้วย
โปรแกรมเมอร์น้อยคนที่ได้ไปถึงระดับนี้ในช่วงชีวิตของเขา
ตัวอย่าง:
Dijkstra, Knuth, Kay

2.โปรแกรมเมอร์ที่ประสบความสำเร็จ (Successful Programmer) โปรแกรมเมอร์ที่เป็นทั้งคนที่เป็นที่รู้จักกันดี และได้สร้างธุรกิจทั้งหมด หรืออาจขนาดทั้งอุตสาหกรรม – ด้วยโค้ดของพวกเขาเอง โปรแกรมเมอร์เหล่านี้ได้ให้ อิสระที่แท้จริง แก่ตัวพวกเขาเอง: อิสระที่พวกเขาจะตัดสินใจเลือกงานที่พวกเขาอยากทำเอง และการแบ่งปันอิสระนั้นแก่เพื่อนร่วมอาชีพ
นี่เป็นระดับที่โปรแกรมส่วนใหญ่ทุกคนควรอยากที่จะเป็น การที่จะได้ระดับนี้ขึ้นอยู่กับทักษะทางธุรกิจมากกว่าการเขียนโปรแกรม
ตัวอย่าง:
Gates, Carmack, DHH

3.โปรแกรมเมอร์ที่มีชื่อเสียง (Famous Programmer) นี่ก็เป็นอีกที่หนึ่งที่ควรอยู่, แต่ต้องยกเว้นว่าคุณต้องมีงานประจำ คุณเป็นโปรแกรมเมอร์ที่มีชื่อเสียงในหมู่คนเขียนโปรแกรม แต่การมีชื่อเสียงไม่ได้ช่วยให้คุณสามารถสร้างรายได้หรือสนับสนุนตัวคุณเอง การมีชื่อเสียงเป็นเรื่องที่ดี แต่การประสบความสำเร็จเป็นเรื่องที่ดีกว่า คุณอาจจะได้ทำงานกับบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ที่มีชื่อเสียง, บริษัทเล็กๆที่มีอิทธิพล, หรือเป็นส่วนหนึ่งของทีมสตาร์ตอัพที่ไม่ใหญ่โตนัก ไม่ว่าจะทางไหน โปรแกรมเมอร์คนอื่นๆ ได้ยินชื่อของคุณ และคุณได้ผลกระทบที่ดีในที่นั้นแล้ว

4.โปรแกรมเมอร์ที่ทำงานได้ (Working Programmer) คุณได้มีอาชีพที่ประสบความสำเร็จสำหรับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ทักษะของคุณอยู่ในความต้องการ และคุณไม่เคยที่จะต้องใช้เวลานานและยากลำบากสำหรับการหางานที่ดี เพื่อนร่วมงานนับถือคุณ ทุกบริษัทที่คุณทำงานด้วยได้ถูกพัฒนาและรุ่งเรื่องยิ่งขึ้นในสักทางจากการมีอยู่ของคุณ แต่คุณจะไปที่ไหนจากตรงนั้น?

5.โปรแกรมเมอร์ระดับกลาง (Average Programmer) ที่ระดับนี้คุณเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ดีพอที่จะตระหนักได้ว่าคุณไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ที่ยิ่งใหญ่ และคุณอาจเป็นไม่ได้
พรสวรรค์มักจะมีส่วนน้อยต่อความสำเร็จ คุณสามารถประสบความสำเร็จได้ถ้าคุณมีทักษะด้านธุรกิจและผู้คน ถ้าคุณเป็นโปรแกรมเมอร์ระดับกลาง ที่สามารถใช้ชีวิตอยู่ตรงนั้นได้แสดงว่าคุณได้รับพรสวรรค์, แค่ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นที่การเขียนโปรแกรม
อย่าดูถูกคุณค่าของการรู้ตัวเอง มันเป็นสิ่งที่มีค่ามากกว่าที่คุณตระหนัก มันไม่มีอะไรผิดกับการที่ไม่มีพรสวรรค์ จงกล้าหาญ มองให้ออกว่าอะไรที่คุณทำได้ดี และไล่ตามมัน อย่างหนักหน่วง


6.โปรแกรมเมอร์สมัครเล่น (Amateur Programmer) โปรแกรมเมอร์สมัครเล่นที่รักที่จะเขียนโปรแกรม, และมันแสดงให้เห็นว่าเป็นแบบนั้น: พวกเขาอาจจะเป็นนักศึกษาอนาคตไกล หรือเด็กฝึกงาน, หรืออาจจะมีส่วนร่วมในการโครงการ open source, หรือสร้างสรรค์โปรแกรมหรือเว็บไซต์ที่น่าสนใจในเวลาว่าง “เพียงเพื่อความสนุก” โค้ดและความคิดของพวกเขาแสดงถึงสัญญาณแห่งความสำเร็จและความกระตือรือร้น
การเป็นโปรแกรมเมอร์สมัครเล่นเป็นสิ่งที่ดี จากระดับตรงนี้ คนๆหนึ่งสามารถไปสู่การเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว


7.โปรแกรมเมอร์ที่ไม่เป็นที่รู้จัก (Unknown Programmer) โปรแกรมเมอร์ทั่วๆไป เก่ง แต่ไม่ถึงกับโดดเด่น อาจจะทำงานให้กับบริษัทขนาดใหญ่, บริษัทนิรนาม MegaCorp มันเป็นแค่งาน ไม่ใช่ทั้งชีวิตของพวกเขา ไม่มีอะไรผิดเกี่ยวกับสิ่งนั้น, เช่นกัน

8.โปรแกรมเมอร์ที่แย่ (Bad Programmer) ผู้คนที่บางครั้งหล่นไปอยู่ในตำแหน่งโปรแกรมโดยที่ไม่มีทักษะหรือความสามารถแม้แต่นิดทุกๆสิ่งที่พวกเขาแตะ กลายเป็นความเจ็บปวดและทรมาณ สำหรับเพื่อนโปรแกรมเมอร์รอบข้าง – ที่เป็นไปได้ว่าจะเป็นโปรแกรมเมอร์ที่แย่คนอื่นๆ, ที่ขาดทักษะพื้นฐานที่จะบอกได้ว่าพวกเขากำลังทำงานกับโปรแกรมเมอร์ที่แย่
ซึ่ง, บางที, อาจจะเป็นเครื่องหมายสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่แย่ทุกคน คนเหล่านี้ไม่มีธุระกับการเขียนโค้ดในทุกๆ รูปแบบ – แต่พวกเขาก็ทำ, อย่างไรก็ตาม ระดับพวกนี้ไม่ได้จริงจังโดยสิ้นเชิง ไม่ใช่ว่าโปรแกรมเมอร์ทุกคนจะต้องมองหาสิ่งเดียวกันในอาชีพ แต่มันชีให้เห็นสิ่งที่โปรแกรมเมอร์สามารถเป็นได้ใน 10 ปี, 20 ปี, หรือ 30 ปี – บางทีอาจจะทั้งชีวิต

 

 

 


 
























 

Comments

Popular posts from this blog

โรงเรียนของผม

อยากเป็นโปรแกรมเมอร์ต้องทำยังไง